กินเค็มอย่างไรให้สุขภาพดี
ที่มาของรสเค็มที่หลายคนชอบรับประทานก็คือ “โซเดียม” ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่แอบแฝงในอาหารแทบทุกชนิด ตั้งแต่ เครื่องปรุงรส(น้ำปลา น้ำมันหอย ผงฟู เครื่องพริกแกง ผงฟู) ขนมขบเคี้ยว อาหารสำเร็จรูป (ไส้กรอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แคปหมู อาหารหมักดอง) เป็นต้น
ปัจจุบันคนไทยบริโภคเกลือ(โซเดียม) มากเกินความจำเป็นคิดเฉลี่ยเป็น 2 เท่าจากที่ร่างกายต้องการ ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมต่อวันอยู่ที่ 2300 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชาเท่านั้น ซึ่งหากรับประทานรสเค็มมากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและโรคต่างๆ ตามมากมาย ดังจะกล่าวต่อไปนี้
- โรคความดันโลหิตสูง : การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ โดยหากเราสามารถลดการทางโซเดียมได้วันละ 3 กรัม จะสามารถลดความดันลงได้ถึง 5/3 มิลลิเมตรปรอท และหากปรับลดลง 9 กรัมจะลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองลงได้ถึง 1 ใน 3 และลดโรคหัวใจได้ 1 ใน 4 อีกด้วย
- โรคหัวใจ : เป็นผลเนื่องมาจากความดันโลหิตสูงนั่นเอง โซเดียมทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว และเสี่ยงในเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
- โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร : โซเดียมนั้นมีผลร้ายโดยตรงกับกระเพาะอาหาร คนที่ทานเค็มมากจึงมักพบว่าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เนื่องจากความเค็มทำลายเยื่อบุกระเพาะทำให้ติดเชื้อ H-Pylori infection ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหารนั่นเอง
- โรคไต : ความเค็มจะทำให้ไตขับ albumin ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคไต และหัวใจ นอกจากนั้นยังทำให้ไตเสื่อม อาจเกิดการคั่งของน้ำและเกลือโซเดียมทำให้หัวใจวายได้
- การเกิดโรคนิ่วและกระดูกพรุน : การรับประทานโซเดียมมากจะทำให้ร่างกายจำเป็นต้องขับเกลือออกมาทางปัสสาวะ เป็นต้นเหตุให้เกิดนิ่วในไต และแคลเซียมที่ถูกขับออกมาพร้อมกันเป็นแคลเซียมที่มาจากกระดูกและฟัน ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย
- โรคหอบหืด : มีการศึกษาพบว่าการเกิดโรคหอบหืดมีความสัมพันธ์กันกับการทางเค็ม
- โรคอ้วน : เมื่อรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจะทำให้หิวน้ำบ่อย และเมื่อดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวานก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนได้ เนื่องจากได้รับพลังงานส่วนเกินมากเกินไป
- การคั่งของน้ำและเกลือ : เมื่อรับประทานเค็ม น้ำและเกลือในร่างกายจะสะสมเกิดอาการบวม ที่เรียกว่าบวมน้ำ โดยเฉพาะที่เท้า
การลดการรับประทานอาหารเค็มอย่างได้ผล
- ลดการใช้เครื่องปรุงรสในอาหาร เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงปรุงรส และควรชิมอาหารก่อนทุกครั้ง รวมทั้งลดการทานน้ำจิ้ม หรือน้ำปลาพริก
- ไม่รับประทานอาหารหมักดอง และขนมกรุบกรอบ เพราะอาหารพวกนี้มีโซเดียมสูงมาก
- หากชอบทานอาหารรสจัด ให้เปลี่ยนมาทานรสอื่นๆ แทนบ้าง เช่น เปรี้ยวหรือเผ็ด
- ไม่รับประทานอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป บ่อยเกินไป
นอกจากนั้นการรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ รวมถึงหมั่นออกกำลังกาย ยังช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและลดการเกิดโรคต่างๆ ได้อีกด้วยค่ะ
เรียบเรียงโดย http://thailand-healthcare.blogspot.com/
ที่มาของรูป https://pixabay.com/th/users/kropekk_pl-114936/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น