จากตัวอย่างบทสนทนาของคนใกล้ตัว พอดีได้โอกาสเลยหยิบยกขึ้นมาเขียนค่ะ จะเห็นได้ว่าคนไทยสมัยนี้ยังมีคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
อยู่มากทีเดียว อย่างเช่นความเชื่อที่ว่าการรับประทานอาหารจำพวกไขมันมากๆ เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งก็ไม่ผิด แต่นอกจากอาหารจำพวกไขมันแล้วยังมีอาหารและพฤติกรรมอย่างอื่นที่เป็นภัยร้ายแอบแฝง ซึ่งจะทำให้ความดันเลือดของเราพุ่งสูงปรี๊ด อย่างที่เราไม่ทันระวังตัวอีกหลายอย่างทีเดียวเชียวค่ะ
ต่อมาคืออาหารรสเค็ม การรับประทานอาหารที่เค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมมาก เช่น ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ก็เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงเช่นกัน เนื่องจากโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไปจะยับยั้งการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุโซเดียม-แคลเซียมในเซลล์ ทำให้ที่กล้ามเนื้อและหลอดเลือดมีการสะสมแคลเซียมมากขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ความดันเลือดสูงขึ้นนั่นเอง ปัจจุบันได้มีการทดลองและวิจัยจาก The National Research Council ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ข้อสรุปว่า ระดับความดันโลหิตมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างยิ่งกับการกินเค็ม เห็นอย่างนี้แล้วสาวๆ หนุ่มๆ คนไหนที่ชอบกินเค็มก็เพลาๆ ลงบ้างนะคะ
นอกจากนั้นก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ความเครียด โดยผู้ที่มีความเครียดสูงจะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ง่าย เนื่องจากสภาวะเครียดทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น ความดันจึงสูงขึ้น พันธุกรรม พบว่าคนที่ไม่พ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้เลย ความอ้วน น้ำหนักมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิต ผู้ที่มีน้ำหนักมากจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นตามไปด้วย และการสูบบุหรี่ ยังเป็นผลให้ความดันเพิ่มขึ้นเช่นกัน
สำหรับวิธีการลดความดันโลหิตสูงให้ต่ำลงอย่างที่ใจต้องการ ทำได้ไม่ยากเลยค่ะ แต่ต้องอาศัยความตั้งใจและพยายามเปลี่ยนแปลงนิสัยบางอย่างที่ขัดต่อการทำให้มีสุขภาพดี เช่น การรับประทานอาหารรสเค็ม มัน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทาง thailand-healthcare ได้เรียบเรียงข้อมูลในการลดระดับความดันเลือดมาให้ผู้อ่านดังนี้ค่ะ
การลดระดับความดันเลือด
- รับประทานอาหารที่เค็มน้อยให้ลง ซึ่งแน่นอนว่าทำได้ยากมากสำหรับบุคคลที่ทานเค็มเป็นประจำจนติดเป็นนิสัย โดยท่านอาจค่อยๆ ลงความเค็มลงมาทีละนิด เพิ่มรสชาติอร่อยอื่นๆ เข้าไป เช่น เปรี้ยว หวาน เผ็ด และใช้สมุนไพรปรุงรสมากขึ้น จะได้รสชาติจัดจ้านดับความเค็มที่เราต้องการลงไปได้ และหมั่นรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยอาจเลือกที่มีโพแทสเซียมสูง (ช่วยให้ร่างกายมีการสะสมของโซเดียมน้อยลง) เช่น บร็อคโคลี่ เมลอนเขียว มะเขือเทศ มันเทศ แครอท เห็ด มันฝรั่ง แตงโม กล้วย ส้ม ลูกพรุน แคนตาลูป เป็นต้น หลังอาหารทุกมื้อได้ยิ่งดีค่ะ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ปลากระป๋อง อาหารฟาสฟู้ด อาหารหมักดอง ปลาร้า ผงชูรส อาหารรมควัน เป็นต้น
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา หากดื่มไม่ควรเกินวันละ 1 ออนซ์
- ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
- คลายเครียด เช่น หากิจกรรมนันทนาการต่างๆ ทำบ้าง หาวันหยุดพักร้อนยาวๆ หลังจากทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย อย่าลืมนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสด้วยนะคะ
credit รูปที่ 1 https://pixabay.com/th/users/rawpixel-4283981/
--------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------
บทความโดย thailand-healthcare.blogspot.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น