ลดน้ำหนัก

บทความทุกบทความ thailand-healthcare.blogspot.com เป็นผู้เขียนขึ้นเองหากนำไปใช้กรุณาให้เครดิตด้วยค่ะ. ขับเคลื่อนโดย Blogger.

อาหารเพื่อสุขภาพ

มารู้จัก โรคประสาทหลอน (Hallucination) ที่เราเห็นบ่อยๆ ในหนังสงครามกันเถอะ

 

มารู้จัก โรคประสาทหลอน ที่เราเห็นบ่อยๆ ในหนังสงครามกันเถอะ




Hallucination หรืออาการประสาทหลอน ที่เรามักพบได้บ่อยในหนังสงคราม ซึ่งตัวละครมักจะมีอาการสัมผัสหรือรับรู้บางสิ่งได้แม้ไม่มีอะไรมากระตุ้น เช่น การเห็นภาพหลอน หูแว่วไปเอง ได้กลิ่น รับรู้ หรือสัมผัสได้ถึงสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่เป็นโรคจิตเภท ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง หรือาจเป็นอาการข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิดได้ โดยหากพบว่า ตนเองหรือผู้ใกล้ชิดมีลักษณะที่คล้ายกับอาการประสาทหลอน ควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วน 


แถม gif จากเล่ห์รักวังคุนหนิง ซึ่งพระเอกของเรื่องนี้ก็มีอาการประสาทหลอน จากเหตุการณ์ฝังใจในอดีต


อาการหลอน

สามารถแบ่งเป็นประเภทตามประสาทสัมผัสได้ดังนี้

  • การเห็นภาพหลอน (Visual Hallucination)
    ผู้ป่วยจะมองเห็นภาพที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง

  • การหูแว่ว (Auditory Hallucination) 
    เป็นอาการที่พบมากที่สุด โดยผู้ป่วยจะได้ยินเสียงที่ไม่มีอยู่จริง 

  • ประสาทหลอนทางการได้กลิ่น (Olfactory Hallucination) 
    ผู้ป่วยจะได้กลิ่นในขณะที่คนอื่นไม่ได้กลิ่นนั้น

  • ประสาทหลอนทางการรับรส (Gustatory Hallucination)
    ผู้ป่วยจะรับรสที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น รสของโลหะ 

  • ประสาทหลอนทางการสัมผัส (Tactile Hallucination) 
    ผู้ป่วยอาจรู้สึกได้รับการสัมผัสหรือมีบางสิ่งขยับอยู่ในร่างกายซึ่งสิ่งนั้นไม่มีจริง

สาเหตุของอาการประสาทหลอน

  • โรคและการเจ็บป่วยทางจิต เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) อาการเพ้อ (Delirium) ไบโพลาร์ เป็นต้น 

  • โรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น พาร์กินสัน สมองเสื่อม (dementia) ไมเกรน ลมชัก เป็นต้น
     
  • ผู้ที่มีความบกพร่องด้านการมองเห็น 

  • อาการข้างเคียงของยาบางชนิด มักพบได้มากเมื่อผู้ใช้ยาเป็นผู้สูงอายุ 

  • การดื่มสุราเป็นระยะเวลานาน

  • อาการข้างเคียงหลังการผ่าตัดศัลยกรรม หรือการดมยาสลบ

  • ความเครียดและความกังวล การพักผ่อนไม่เพียงพอ



การรักษาอาการประสาทหลอน

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของอาการประสาทหลอน โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยจากอาการ โดยมีวิธีการรักษาหลัก ดังนี้
  • การรักษาด้วยยา 
    การรักษาด้วยวิธีนี้ มักใช้กับผู้ที่เกิดอาการประสาทหลอนจากการดื่มสุราติดต่อกันเป็นเวลานาน ผู้ป่วยโรคจิตเภท หรือผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง

  • สำหรับผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นจะต้องได้รับการดูและรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยอาจจำเป็นต้องผ่าตัดในกรณีที่จำเป็น

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการประสาทหลอนหากมีความเข้าใจในอาการของตนเอง รวมถึงได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติได้ ทั้งนี้ บุคคลใกล้เคียงควรดูแลอย่างใส่ใจใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยผู้ป่วยไว้ตามลำพัง เนื่องจากอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่พฤติกรรมที่มีความอันตราย เช่น การทำร้ายตนเอง และผู้อื่นได้ 

Share on Google Plus

About kanghanlom

kanghanlom เป็นนามปากกาของกิ๊ฟ ในการเขียนบทความสุขภาพค่ะ กิ๊ฟเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่นชอบเรื่องสุขภาพและคอมพิวเตอร์ รวมถึงการแปลบทความภาษาอังกฤษ ติดต่อและพูดคุยกันได้ที่คอมเม้นท์เลยนะคะ :)
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น